สารเคมีป้องกันตะกรันและการกัดกร่อนในระบบคูลลิ่งทาวเวอร์
ระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ หรือห่อหล่อเย็น เป็นระบบที่ใช้ในการถ่ายเทหรือระบายความร้อนให้กับอุปกรณ์หรือเครื่องจักร โดยใช้น้ำเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนความร้อน ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับระบบคูลลิ่งทาวเวอร์
- ปัญหาการอุดตันจากตะกรัน
การเกิดตะกรัน เป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพของระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ลดลง โดยเกิดจากการทำปฏิกิริยาของความกระด้างและความเป็นด่างในน้ำ เมื่อละลายอยู่จนความเข้มข้นสูงเกินความสามารถที่ละลายได้จะตกตะกอนแยกตัวออกมา และจับตัวแข็งบริเวณพื้นผิวแลกเปลี่ยนความร้อนของระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ เสมือนเป็นฉนวนกันความร้อน ทำให้ความสามารถในการถ่ายเทความร้อนลดลง ทางเดินของน้ำถูกขัดขวางหรืออุดตัน อีกทั้งยังส่งผลทางอ้อมต่ออายุการใช้งานที่สั้นลง และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น
การแก้ไขปัญหาอาจทำได้โดย :
- การติดตั้งเครื่องกรองน้ำอ่อน (Softener) เพื่อกำจัดความกระด้างออกจากน้ำ
- การระบายเพื่อลดความเข้มข้นของสารลายในน้ำ (Bleed Off)
- การใช้สารเคมีป้องกันตะกรัน
- ปัญหาการอุดตันจากสารแขวนลอย
สารแขวนลอยสามารถทำให้เกิดการอุดตันในระบบและเกาะจับตามพื้นผิวต่างๆ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสให้จุลชีพ จำพวกเชื้อแบคทีเรีย รา เมือก และตะไคร่น้ำ มีพื้นที่ในการยึดเกาะและอาศัยเพื่อการเจริญเติบโตได้เพิ่มขึ้น รวมถึงก่อให้เกิดการกัดกร่อนภายใต้การทับถมของตะกอนเพิ่มขึ้นอีกด้วย
การแก้ไขปัญหาอาจทำได้โดย :
- การติดตั้งระบบ Side Stream Filter โดยแบ่งน้ำบางส่วนจากระบบมาผ่านระบบกรองสารแขวนลอย
- การระบายน้ำทิ้งเพื่อลดตะกอนในระบบ (Bleed Off)
- การใช้สารเคมีป้องกันการเกาะจับของตะกอน (Dispersant)


ลักษณะการอุดตันจากตะกรันและสารแขวนลอยในระบบคูลลิ่งทาวเวอร์
3. ปัญหาการกัดกร่อน
สาเหตุหลักของการเกิดการกัดกร่อนมาจากปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ นอกจากนั้นยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ อุณหภูมิ ค่าแร่ธาตุที่ละลายในน้ำ สภาพโครงสร้างของระบบที่เป็นโลหะต่างชนิดสัมผัสกัน เป็นต้น ส่งผลทั้งทางตรงทำให้อุปกรณ์เสียหายและทางอ้อมทำให้การถ่ายเทความร้อนลดลงเนื่องจากตะกอนสนิม แก้ปัญหาโดยการใช้เคมีป้องกันการกัดกร่อน (Corrosion Inhibitor)


ลักษณะการกัดกร่อนและตะกอนสนิมที่เกิดจากการกัดกร่อนในเส้นท่อ
กลไกการทำงานของสารเคมีป้องกันตะกรันและการอุดตันจากสารแขวนลอย
- Threshold Effect: เป็นการป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น โดยสารเคมีจะทำลายกลุ่มอิออน (Ion Clusters) ก่อนที่จะเริ่มก่อตัวเป็นขนาดวิกฤต
- Crystal Distortion Effect: เป็นการป้องกันการเปลี่ยนแปลงผลึก โดยสารเคมีจะเปลี่ยนรูปร่างของผลึกให้มีความผิดรูป ผิดเหลี่ยมมุม ทำให้ไม่สามารถก่อตัวเป็นผลึกที่ขนาดใหญ่ขึ้นได้
- Dispersant: เป็นการป้องกันไม่ให้ผลึกเกิดการรวมตัวกัน โดยสารเคมีจะทำให้ผลึกเหล่านี้มีประจุที่ผิวของมัน ผลึกจึงผลักกันด้วยแรงทางไฟฟ้าสถิต ทำให้ผลึกเกิดการกระจายตัวและไม่สามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนที่ก่อให้เกิดตะกรันได้
กลไกการทำงานของสารเคมีป้องกันการกัดกร่อน
การป้องกันการกัดกร่อน คือ สารเคมีจะทำปฏิกิริยากับผิวโลหะในระบบคูลลิ่งทาวเวอร์เพื่อสร้างฟิล์มป้องกันที่ผิวโลหะ เพื่อไม่ให้น้ำสัมผัสกับโลหะในระบบโดยตรง
ทำไมต้องเป็นสารเคมีป้องกันตะกรันและการกัดกร่อนของเรา?
“Creguard 3000 series” ถูกพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับน้ำเติมเข้าระบบคูลลิ่งทาวเวอร์ทุกประเภท เพื่อให้มั่นใจว่าครอบคลุมถึงปัญหาตะกรันและการอุดตันจากสารแขวนลอย สารเคมีสามารถทนทานค่าดัชนีอิ่มตัวของน้ำ (LSI) ได้สูงถึง 2.8 ทำให้ช่วยประหยัดน้ำจากการระบายน้ำทิ้ง อีกทั้งสารเคมี “Creguard 3000 series” ของเรามีส่วนผสมของสารเคมีป้องกันการกัดกร่อน ที่ป้องกันทองแดงและทองเหลืองได้ดี ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแบบ 2 in 1 คือ ป้องกันปัญหาตะกรันและการกัดกร่อนในผลิตภัณฑ์ตัวเดียว
นอกจากนี้ เพื่อลดการสิ้นเปลืองของสารเคมี ทางบริษัทฯ จึงนำซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ (Physical Chemistry – Ion Dissociation Model) มาใช้ในการคำนวณความเข้มข้นของสารเคมีที่ลูกค้าควรใช้